วันพฤหัสบดีที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2554

มาชมนกกันเถอะ...


เหยี่ยวแดง (อังกฤษ: Brahminy Kite หรือ Red-backed Sea-eagle) เป็นนกล่าเหยื่อขนาดกลางในวงศ์ Accipitridae สามารถพบได้ในอนุทวีปอินเดีย, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และ ประเทศออสเตรเลีย

พฤติกรรม
เหยี่ยวแดงชอบบินอยู่ตัวเดียวหรือ เป็นคู่หรือเป็นกลุ่มเล็ก ๆ เมื่อพบอาหารมันจะบินเป็นวงกลม พร้อมกับบินดิ่งควงลงมา โฉบอาหารนั้นขึ้นไปกินบนต้นไม้สูงซึ่งอยู่ใกล้ ๆ อาหารได้แก่ กบ เขียด งู นก แมลง หนู ลูกเป็ด ลูกไก่ สัตว์เลื้อยคลานเล็ก ๆ เหยี่ยวแดง ผสมพันธุ์ในช่วงฤดูหนาวต่อฤดูร้อน ทำรังตามกิ่งไม้ใกล้แหล่งน้ำ วางไข่ครั้งละ 2 – 4 ฟอง ไข่สีขาวไม่มีลวดลายใดๆ ทั้งสองเพศช่วยกันฟักไข่นาน 29 – 31 วัน

ลักษณะ
เหยี่ยวแดงมีสีที่ตัดกันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ ทั้งตัวจะมีสีน้ำตาลแดงยกเว้นที่หัวและอกมีสีขาว ปลายปีกมีสีดำ ขามีสีเหลือง ตัวเมียมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้มีความยาวจากปลายปีกจดปลายหาง 51 ซม. ตัวผู้ยาว 43 ซม. นกวัยอ่อนมีสีน้ำตาลแกมดำคล้ายกับเหยี่ยวดำ แต่มีสีจางกว่า ปีกสั้น และ หางมน
เหยี่ยวแดงมีขนาดพอๆกับเหยี่ยวดำและมีลักษณะการบินที่คล้ายกันจากมุมปีก แต่มันมีปลายหางมนเหมือนกับนกในสกุล Milvus ขณะที่เหยี่ยวดำมีหางเป็นแฉก นกทั้งสองสกุลนี้มีลักษณะใกล้เคียงกันมาก

 

นกชนหิน (Helmeted Hornbill) เป็นนกขนาดใหญ่ในวงศ์นกเงือก พบในประเทศไทย มาเลเซีย สุมาตรา และบอร์เนียว
ลักษณะ
นกเงือกชนิดนี้มีลักษณะเด่นกว่านกเงือกชนิดอื่นๆ ตรงที่สันบนจะงอยปากใหญ่หนาเนื้อในสีขาวคล้ายงาช้าง และมีขนหางพิเศษคู่หนึ่ง ซึ่งจะงอกยาวเลยขนหางเส้นอื่น ๆ ออกไปมากถึง 50 เซนติเมตร นกตัวผู้มีขนาดลำตัวยาวจากปลายจะงอยปากถึงปลายขนหาง 127 เซนติเมตร ขนลำตัวสีน้ำตาลเข้ม ใต้ท้องสีขาว หางสีขาวมีแถบสีดำพาดขวาง และปลายปีกสีขาวเป็นแถบกว้าง จะงอยปากตอนโคน และบนสันสีแดงคล้ำ ตอนปลายสีเหลืองเรื่อๆ บริเวณลำคอที่ไม่ขนในนกตัวผู้จะมีสีแดงคล้ำ ส่วนนกตัวเมียจะมีสีฟ้าซีดหรือสีฟ้า แต่นกวัยอ่อนเพศผู้ ลำคอจะมีสีแดงเรื่อ ๆ และนกเพศเมียหนังส่วนนี้จะเป็นสีม่วง นอกจากนี้สันบนจะงอยปากจะมีขนาดเล็กกว่า และขนหางยังเจริญไม่เต็มที่ มีลักษณะสั้นกว่านกโตเต็มวัย
อุปนิสัย
ปกติจะหากินในระดับยอดไม้ กินผลไม้เป็นส่วนใหญ่ เช่น ลูกไทร บางครั้งพบว่ากินสัตว์อื่น ๆ เช่น กิ้งก่า กระรอก และนกอีกด้วย มักจะอยู่โดดเดี่ยวหรืออยู่เป็นคู่ ฤดูผสมพันธุ์เริ่มราวปลายเดือนมกราคมหรือต้นเดือนกุมภาพันธ์ ทำรังในต้นไม้สูง และใช้วัสดุปิดปากรังเช่นเดียวกับนกเงือกชนิดอื่นๆ นกชนหินมีเสียงร้องที่ไม่เหมือนนกชนิดอื่นๆ โดยนกตัวผู้จะร้องติดๆกันดัง ตู๊ก…ตู๊ก ทอดเป็นจังหวะ ร้องติดต่อกันยาวเสียงร้องจะกระชั้นขั้นตามลำดับ เมื่อจะสุดเสียงเสียงร้องจะคล้ายเสียงหัวเราะประมาณ 4-6 ครั้งเมื่อตกใจจะแผดเสียงสูงคล้ายเสียงแตร
นกหงส์หยก

นกหงส์หยก (อังกฤษ: Budgerigar) เป็นนกขนาดเล็กชนิดหนึ่ง ที่มีลวดลายและสีสันที่สวยงาม ถิ่นกำเนิดดั้งเดิมของ นกหงส์หยก อยู่ตามทุ่งหญ้าทั่วไปในออสเตรเลีย ปัจจุบันมักเรียกสั้นลงว่า บั๊ดจี้ส์ (Budgies) และ Parakeet ก่อนหน้ามีผู้เข้าใจ ว่านกนี้อยู่ในจำพวก Lovebird แต่ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับแล้วว่าเป็นคนละชนิดกัน ชื่อเรียก Budgerigar เป็นชื่อซึ่งเพี้ยนมาจากสำเนียงพื้นเมืองในออสเตรเลียที่เรียกว่า Betcherrygah แปลว่าอาหารดี หรือกินอร่อย บุคคลแรกที่ได้ศึกษาและนำเรื่องราวในฐานะเป็นนกใหม่ เป็นนักสัตวศาสตร์ชาวอังกฤษ ชื่อ กูลด์ (Gould) ซึ่งได้เข้าไปศึกษาชีวิตการเป็นอยู่ของสัตว์ต่างๆ ในออสเตรเลีย เมื่อ 110 ปีที่แล้ว
ลักษณะ
นก หงษ์หยก เป็นนกที่มีขนาดเล็ก มีลวดลาย และสีสันที่สวยงาม และสามารถแยกออกเป็นหลายพันธุ์ในตระกูลเดียวกัน นกหงษ์หยกเป็นนกที่ชอบแต่งตัวและรักสะอาด ชอบแต่งขนหน้ากระจก เราควรมีกระจกให้แก่นกด้วย โดยให้กระจกเหมาะสมกับจำนวนของนก บางครั้งเราควรที่ใช้ฟร็อคกี้ หรือ ที่ฉีด ฉีดน้ำให้เป็นฟอยๆกระจาย นกจะมาเล่นน้ำเพื่อทำความสะอาดขน และก็จะแต่งขน ซึ่งจะทำให้นกมีขนที่สวยงาม
นกเขาใหญ่

นกเขาใหญ่ หรือ นกเขาหลวง (อังกฤษ: Spotted Dove หรือ Spotted Turtle Dove) เป็นนกชนิดหนึ่งในวงศ์นกเขา มีถิ่นอาศัยในเอเชียทางใต้จากประเทศปากีสถาน อินเดีย และ ศรีลังกา ทางตะวันออกถึงตอนใต้ของประเทศจีนและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นกเขาใหญ่ยังรู้จักกันในชื่อ Chinese Dove, Mountain Dove, หรือ Lace-necked Dove
เป็นนกชนิดที่พบบ่อยและแพร่หลายในป่าเปิด พื้นที่การเกษตร และ ในเมือง มันถูกนำเข้าสู่รัฐฮาวายและตอนใต้ของรัฐแคลิฟอร์เนีย นอกจากประเทศสหรัฐอเมริกาแล้ว ยังมีการนำนกเข้าสู่ประเทศสิงคโปร์, ประเทศฟิลิปปินส์, ทางเหนือของประเทศอินโดนีเซีย, ประเทศออสเตรเลีย และ ประเทศนิวซีแลนด์ ในประเทศออสเตรเลียนกถูกนำเข้ามาที่เมลเบิร์นในคริสต์ทศวรรษที่ 1860 และมีการกระจายพันธุ์แทนที่นกเขาพื้นเมือง
นกเขาใหญ่มีหางยาว ลำตัวเพรียว ยาว 28-32 ซม. มีสีน้ำตาลอมแดง ขนปีกออกดำมีขอบสีเทาด้านใน หน้าและท้องส่วนล่างมีสีเทา มีแถบสีดำจุดขาวคาดบริเวณคอด้านหลังซึ่งไม่พบในนกวัยอ่อน ขาสีแดง
นกเขาใหญ่กินเมล็ดธัญพืชเป็นอาหาร ชอบอาศัยอยู่ตามทุ่งนา ป่าโปร่ง แหล่งที่มีการเพาะปลูกพืชไร่ มักอยู่เป็นคู่และขันคูในตอนเช้าเย็น มักลงมาหากินตามพื้นดิน เวลาขันจะมีเสียงไพเราะ คนจึงนิยมนำนกเขาชนิดนี้มาเลี้ยงกันอย่างแพร่หลาย ผสมพันธุ์ในช่วงเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน ทำรังอยู่บนต้นไม้ใหญ่ โดยใช้กิ่งไม้ขัดสานกันทำให้เป็นแอ่งเพื่อวางไข่ ปกติจะวางไข่ครั้งละ 2-3 ฟอง

วันพฤหัสบดีที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2554

นิโคลาส์ เดอ ลาร์ฌิลลิเยร์ (ฝรั่งเศส: Nicolas de Largillière )




ภาพเหมือนตนเอง





ภาพเหมือนของ หลุยส์-มาเดอเลน แบร์แตง เคานเทสแห่งมองต์ชาล





ภาพเหมือนของวอลแตร์





นิโคลาส์ เดอ ลาร์ฌิลลิเยร์ (ฝรั่งเศส: Nicolas de Largillière ) (10 ตุลาคม ค.ศ. 1656 - 20 มีนาคม ค.ศ. 1746) เป็นจิตรกรชาวฝรั่งเศสของสมัยโรโคโคของคริสต์ศตวรรษที่ 17 และ 18 ผู้มีความเชี่ยวชาญในการเขียนภาพเหมือน

บิดาผู้เป็นพ่อค้านำตัวเดอ ลาร์ฌิลลิเยร์ ไปอันท์เวิร์พตั้งแต่อายุเพิ่งได้สามขวบ ระหว่างที่เป็นเด็กเดอ ลาร์ฌิลลิเยร์ ก็ได้ใช้เวลาถึงเกือบสองปีในลอนดอน

หลังจากที่กลับมายังอันท์เวิร์พและประสบความล้มเหลวในด้านธุรกิจแล้วเดอ ลาร์ฌิลลิเยร์ก็หันไปหาห้องเขียนภาพของกูโบ (Goubeau)

เมื่ออายุได้ 18 ก็เดินทางไปหาช่องทางทำมาหากินในอังกฤษ เมื่อไปได้ทำความรู้จักและได้รับการจ้างจากเซอร์ปีเตอร์ เลลีเป็นเวลาสี่ปีที่วินด์เซอร์ในบาร์คเชอร์

ความสามารถของเดอ ลาร์ฌิลลิเยร์เป็นที่สนใจของสมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษผู้ที่มีพระราชประสงค์ที่จ้างไว้เป็นจิตรกรประจำราชสำนัก

แต่การคบคิดไรย์เฮาส์ต่อผู้ถือนิกายโรมันคาทอลิกสร้างความหวาดหวั่นให้แก่เดอ ลาร์ฌิลลิเยร์ ผู้ที่ย้ายไปอยู่ปารีส และไปได้รับการชื่นชมจากเลอ เบริง และ ฟาน เดอร์ มอยเล็น

ในที่สุดเดอ ลาร์ฌิลลิเยร์ก็เริ่มมีชื่อเสียงมากขึ้น การใช้สีอันสดใสและการเขียนที่เป็นเชิงมีชีวิตชีวาเป็นที่ต้องใจของบุคคลสำคัญในยุคนั้นเป็นอันมาก ไม่ว่าจะเป็นนักแสดง ข้าราชการ และ นักเทศน์

วันอาทิตย์ที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ประเพณีแต่งงานของฝรั่งเศส

ประเพณีการแต่งงานของฝรั่งเศสก่อนพิธีแต่งงาน เจ้าสาวฝรั่งเศสจะมีพิธีอาบน้ำเป็นพิเศษ เพื่อชำระล้างสิ่งไม่ดีงามต่าง ๆ รวมถึงอดีตความทรงจำเกี่ยวกับความรักครั้งก่อน ๆ ให้หมดไป เจ้าบ่าวจะไปรับเจ้าสาวที่บ้านของเธอ เด็ก ๆ จะออกมากั้นทางของทั้งสองด้วยริบบิ้นสีขาวซึ่งเจ้าสาวจะเป็นผู้ตัด พิธีแต่งงานของฝรั่งเศสจะเน้นความขาวบริสุทธิ์เป็นหลัก มีการให้พรจากนักบวชภายในโบสถ์ซึ่งอบอวลไปด้วยเครื่องหอมและดอกไม้ต่าง ๆ ขณะที่ย่างก้าวออกจากโบสถ์ คู่บ่าวสาวก็จะถูกโปรยด้วยเมล็ดข้าวสาลี ในงานเลี้ยงบรรดาแขกเหรื่อจะนำดอกไม้มามอบแก่ทั้งสอง เพื่อฉลองการเริ่มต้นชีวิตใหม่ที่สดใสเหมือนดั่งดอกไม้แรกแย้ม และด้วยเหตุผลเดียวกัน เจ้าสาวฝรั่งเศสมักจะประดับผมของเธอด้วยดอกไม้ หรือไม่ก็สวมหมวกมีดอกไม้ประดับประดาอยู่เจ้าบ่าวและเจ้าสาวจะดื่มอวยพรให้แก่กันด้วยแก้วพิเศษที่มีที่จับอยู่สองข้าง ทั้งสองจะดื่มให้แก่กันจากแก้วใบเดียวกันนี้เพื่อแสดงถึงการเริ่มต้นการใช้ชีวิตที่เหลือร่วมกัน แก้วหรือถ้วยใบนี้จะถูกเก็บไว้เพื่อสืบทอดต่อไปสู่รุ่นลูกรุ่นหลาน



ที่มาของวันโกหกโลก (April Fool's Day)


วันเอพริลฟูลส์ (April Fool's Day) หรือเรียกในชื่ออื่นว่า วันเมษาหน้าโง่, วันโกหกเดือนเมษายน, วันเทศกาลคนโง่ เป็นเทศกาลในวันที่ 1 เมษายน วันนี้เป็นวันที่จะอนุญาตให้โกหกต่อกันได้ โดยไม่ถือโกรธ ในหน้าหนังสือพิมพ์ฉบับของวันนี้ อาจมีเหตุการณ์น่าตกใจ ตื่นเต้นเป็นหัวข้อข่าว แต่แล้วในวันรุ่งขึ้นต่อมา จึงได้เฉลยว่าข่าวที่ลงไปนั้นไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด เทศกาลนี้เริ่มขึ้นที่ประเทศฝรั่งเศสและเป็นที่นิยมกันไปทั่วโลก ในประเทศไทยเริ่มเป็นที่นิยมกันมากขึ้นเรื่อยๆ วันโกหก มีชื่อเรียกว่า วันเมษาฯ หน้าโง่ หรือ April’s Fool Day ประวัติของวันๆนี้ เริ่มต้นที่ประเทศฝรั่งเศส ในยุคศตวรรษที่ 16 ตอนนั้นชาวฝรั่งเศสมีวันปีใหม่ตรงกับวันที่ 1 เมษายนกระทั่งมาถึง ค.ศ.1562 โป๊ป เกรกอรี จึงกำหนดให้ชาวคริสต์ทั่วโลกฉลองวันปีใหม่พร้อมกันวันที่ 1มกราคมคราว นี้สมัยก่อน ข่าวสารไม่ได้กระจายรวดเร็วเหมือนสมัยนี้ คนบ้านนอกของฝรั่งเศสบางกลุ่มยังไม่รู้ แถมบางคนได้ยินแล้วก็ยังไม่เชื่อ เลยฉลองวันปีใหม่กันวันที่ 1 เมษาฯเหมือนเดิม ทำให้พวกไม่ตกยุคเย้ยหยันพวกตกยุคว่า “หน้าโง่” แถมยังพยายามจะแกล้งหลอกคนกลุ่มนี้เพื่อความสนุกสนานอีกด้วยวันที่ 1 เมษาฯ ก็เลยกลายเป็นวันที่คนแกล้งหลอกกันด้วยการแต่งเรื่องอะไรก็ไดมาหลอกให้คน อื่นหลงเชื่อ จากนั้นค่อยเฉลยในตอนท้าย ซึ่งเรื่องที่เอามาหลอกนั้นจะต้องไม่ทำให้อีกฝ่ายถึงกับเลือดตกยางออก และคนที่ถูกหลอกจะต้องไม่โกรธด้วย เพราะถือว่า วันนี้เป็นวันพิเศษ ยกเว้นให้หนึ่งวัน

วันศุกร์ที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2554

แนะนำตัวการ์ตูนฝรั่งเศส



วีรบุรุษคนใหม่แห่งงการการ์ตูนฝรั่งเศส เป็นเด็กชายแสนซนวัย 8 ปี ที่มาพร้อมทรงผมแนวขนนกกระจอกเทศ และความหมกมุ่นเกี่ยวกับความลึกลับของความเป็นหนุ่มที่กำลังคืบคลานเข้ามาของเขา ชื่อของเขาคือ ทูทัพ และเขาก็เริ่มเข้ามาแทนที่เหล่าการ์ตูนสุดคลาสสิกทั้งหลาย ในฐานะการ์ตูนที่จำเป็นต้องมีคอลเลคชั่นของโรงเรียนทุกๆ โรงเรียนในฝรั่งเศส ติดตามทูทัพได้ทางช่อง ทรู สปาร์ค (A28) D43 ออกอากาศทุกวันพฤหัส-ศุกร์ เวลา 16.50 น
ทูทัพ จู่โจมวงการการ์ตูนฝรั่งเศส





บาร์บ้าปาป้า (Barbapapa) การ์ตูนฝรั่งเศส และเป็นชื่อของตัวละคร และสปีซีส์ ของตัวละครในหนังสือนิทานเด็ก ที่เขียนโดย แอนเนท ทีสอน (Annette Tison) และ ทาลัส เทย์เลอร์ (Talus Taylor) ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1970 โดยเริ่มต้นทำในภาษาฝรั่งเศส ต่อมาได้มีการทำเป็นภาพยนตร์การ์ตูนขนาดความยาว 5 นาที และฉายตามโทรทัศน์
บาร์บาปาป้า มีสีชมพู เป็นสิ่งมีชีวิตที่สามารถเปลี่ยนรูปร่างได้ และได้เข้ามาอาศัยอยู่ร่วมกับมนุษย์ และได้ผจญภัยในหลายตอน จนได้มาพบกับสิ่งมีชีวิตสปีซีส์เดียวกันที่ชื่อ บาร์บามาม่า โดยมีลักษณะเป็นเพศหญิง และมีสีดำ และได้มีลูกอีก 7 ตัว โดยมีสีต่างๆ ดังนี้
  • บาร์บ้าซู มีสีเหลือง เพศชาย และนิสัยรักสัตว์
  • บาร์บ้าลาล่า มีสีเขียว เพศหญิง และนิสัยรักเสียงเพลง
  • บาร์บ้าลิบ มีสีส้ม เพศหญิง และนิสัยรักการอ่าน
  • บาร์บ้าโบ มีสีดำ และมีขนตามตัว เพศชาย และนิสัยรักการวาดรูป
  • บาร์บ้าเบลล์ มีสีม่วง เพศหญิง และนิสัยรักความสวยงาม
  • บาร์บ้าไบรท์ มีสีน้ำเงิน เพศชาย และนิสัยเป็นนักประดิษฐ์
  • บาร์บ้าบราโว มีสีแดง เพศชาย รักการออกกำลังกาย
ชื่อตัวละครเป็นการเล่นเสียงกับคำว่า barbe à papa ในภาษาฝรั่งเศสที่แปลว่า ขนมสายไหม