วันจันทร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ตำนานวันวาเลนไทน์

ตำนานวันวาเลนไทน์
นักบุญเซ้นท์วาเลนไทน์
ตำนานของวันวาเลนไทน์ นั้นมีความเป็นมาอย่างไร เราจะนำมาเสนอกันคร่าวๆ ที่จริงเดือนกุมภาพันธ์ถูกถือเป็นเดือนแห่งความโรแมนติกมานานแล้ว โดยถือเป็นประเพณีที่มีมาช้านานของทั้งชาวคริสเตียนและอาณาจักรโรมัน
วาเลนไทน์ ถือเป็นชื่อของนักบุญท่านหนึ่ง แต่เขาเป็นใคร และถือเป็นส่วนหนึ่งของสัญญลักษณ์ของความรักได้อย่างไรกัน ??
ตำนานเล่าขานเรื่องนี้มีอยู่ว่า วาเลนไทน์เป็นนักบวชในสมัยคริสตศวรรษที่ 3 ณ กรุงโรม ซึ่งขณะนั้นองค์จักรพรรดิ เคลาดิอุสที่ 2 เห็นว่าในบรรดาเหล่าทหารหาญของพระองค์ ชายโสดจะมีประสิทธิภาพในการรบ ที่เยี่ยมกว่า ชายที่แต่งงานแล้ว พระองค์จึงประกาศออกมาว่าการแต่งงาน ของเด็กวัยรุ่นนั้นเป็นความผิด นักบวชวาเลนไทน์ ไม่เห็นด้วยในมาตรการดังกล่าว และยังคงประกอบพิธีแต่งงานทางศาสนาแบบลับๆ
การประกอบพิธีดังกล่าวถูกค้บพบ จักรพรรดิเคลาดิอุสมีรับสั่งให้นำนักบวชวาเลนไทน์ไปประหารชีวิต แต่ก็มีเรื่องเล่าขานว่านักบวชวาเลนไทน์ ถูกฆ่าเพราะพยายามที่จะช่วยเหลือบรรดาคริสเตียนให้หนีออกจากคุกของชาวโรมัน ที่ซึ่งชาวคริสเตียนต้องถูกทุบตีหรือทรมาน
อีกตำนานหนึ่งเล่าขานว่า ความจริง วาเลนไทน์ได้ส่งการ์ดวาเลนไทน์ ใบแรกของโลกด้วยตนเอง ขณะที่อยู่ในคุก นักบวชวาเลนไทน์ได้ตกหลุมรักหญิงสาวผู้เยาว์วัย ซึ่งเป็นลูกของพัศดี ซึ่งเป็นหญิงสาวที่มักมา เยี่ยมเยือนบ่อยๆ ก่อนเขาตาย เขาได้เขียนจดหมายถึงเธอผู้นั้น และเซ็นต์กำกับว่า " From your Valentine" ซึ่งถูกนำมาใช้จนถึงปัจจุบัน

วาเลนไทน์เสียชีวิตในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 269 เชื่อกันว่าจากประโยคทิ้งท้ายนั้น ทำให้คนทั่วไปประทับใจกับความรักของเขา จึงยึดถือเอาวันที่ 14 กุมภาพันธ์ เป็น "วันวาเลนไทน์"
ต่อมาในปี 469 สันตะปาปา Gelasius จึงประกาศให้วันที่ 14 กุมภาพันธ์ เป็นวันระลึกเพื่อเป็นเกียรติให้แก่ St. Valentine และกลายมาเป็นวันหยุดเฉลิมฉลองวันแห่งความรัก หรือ ภาษาอังกฤษเรียกว่า Saint Valentine's Day หรือ Valentine's Day ในที่สุด ซึ่งต่อมาได้นิยมแพร่หลายไปทั่วยุโรปและอเมริกา และเข้ามาในทวีปเอเชียด้วย และในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ของทุกปี ผู้คนก็ยังระลึกถึงวาเลนไทน์เสมอ และยกย่องให้เขาเป็นตัวแทนแห่งความรัก

วันพุธที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

คริสต์ศตวรรษที่ 19,20

การปฏิวัติฝรั่งเศส

 
การล่มสลายของคุกบาสตีย์ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการปฏิวัติ
ฝรั่งเศสอยู่ในสภาวะที่เศรษฐกิจตกต่ำข้าวยากหมากแพงคนจนอดอยาก แต่คนชั้นสูงก็ยังใช้ชีวิตอย่างหรูหราจากภาษีของประชาชน จึงเกิดการปฏิวัติล้มล้างกษัตริย์ พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 กับ พระนางมารี อองตัวเนตถูกจับใส่กิโยตินประหารกลางฝูงชนเป็นยุคแห่งความหวาดกลัว
นโปเลียน นายทหารปืนใหญ่หนุ่มจากคอร์ซิกาเกาะทางใต้ของฝรั่งเศส รับช่วงในงานปฏิวัติจนมีชื่อเสียงโด่งดัง หลังจากยุคแห่งความหวาดกลัวสงบลงเขาถูกส่งไปเป็นนายพลที่อิตาลีเพื่อขยายอำนาจของฝรั่งเศส นโปเลียนไม่ทำให้ชาวฝรั่งเศสผิดหวังบุกยึดขยายอาณาเขตของฝรั่งเศสไปทั่วยุโรป มีอำนาจจนตั้งตัวเองขึ้นเป็นจักรพรรดิ ประเทศรอบข้างต่างพากันหวาดกลัวรวมตัวกันต้านทานอำนาจของเขา
และแล้วนโปเลียนก็พลาดท่า เมื่อบุกเข้าไปในรัสเซียกลางฤดูหนาว เมื่อไปถึงมอสโกกลับพบว่าเมืองถูกเผาและทอดทิ้งไปเสียแล้ว นโปเลียนไม่มีทางเลือกต้องถอยทัพกลับสถานเดียว กองทัพฝรั่งเศสถูกโจมตีด้านหลังและอดอยากจนกองทัพแตกสลาย นโปเลียนถูกเนรเทศไปอยู่บนเกาะเอลบา แต่ยังไม่สิ้นหวัง ประชาชนยังรักและเชื่อว่านโปเลียนสามารถทำให้ประเทศที่ตกต่ำจากการพ่ายสงครามกลับมาเป็นเหมือนเดิมได้อีกครั้ง นโปเลียนจึงนั่งเรือกลับฝรั่งเศส
ครั้งนี้ฝ่ายพันธมิตรไม่พลาดอีกแล้ว ไม่ยอมปล่อยให้นโปเลียนกลับขึ้นมามีอำนาจได้อีกพวกเขาจะส่งกำลังบุกฝรั่งเศส นโปเลียนต้องนำทัพไปรับที่วอเตอร์ลูและก็ต้องพ่ายแพ้เป็นครั้งแรกที่นั่น เมื่อถูกเนรเทศอีกครั้งก็ไม่มีโอกาสกลับมาที่ฝรั่งเศสอีกเลย

คริสต์ศตวรรษที่ 19

 การปฏิวัติอุตสาหกรรม

การปฏิวัติอุตสาหกรรม (อังกฤษ: industrial revolution) เป็นการเปลี่ยนแปลงอย่างใหญ่หลวงในบริเตนใหญ่ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยี เกิดขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 18 และคริสต์ศตวรรษที่ 19 โดยมีจุดเริ่มจากเทคโนโลยีเครื่องจักรไอน้ำ (ใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงหลัก) ทำงานด้วยเครื่องจักรอัตโนมัติ (โดยเฉพาะอุตสาหกรรมสิ่งทอ) ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและเศรษฐกิจถูกผลักดันด้วยการสร้างเรือ เรือกำปั่น รถยนต์ และทางรถไฟ ที่อาศัยเครื่องจักรไอน้ำ ความเจริญก้าวหน้าแผ่ขยายไปสู่ยุโรปตะวันตกและทวีปอเมริกาเหนือ และส่งผลกระทบทั่วโลกในที่สุด

ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 : ศตวรรษแห่งสงคราม

หลังคริสต์ศตวรรษที่ 19 มหาอำนาจในยุโรปเกิดขัดแย้งกันเองดังเห็นได้จากการพยายามแผ่อิทธิพลเข้าไปในคาบสมุทรบอลข่านของจักรวรรดิรัสเซีย จักรวรรดิออตโตมาน จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี และอิตาลี เมื่อมีศัตรูมากก็ย่อมต้องการมิตรมาก จึงมีการทำสัญญาพันธมิตรขึ้นเป็นสองกลุ่มคือ
  1. ฝ่ายพันธมิตร อังกฤษ ฝรั่งเศส และรัสเซีย
  2. ฝ่ายมหาอำนาจกลาง มี จักรวรรดิเยอรมนี จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี และอิตาลี ทั้งสองฝ่ายต่างพยายามหาพรรคพวก กล่าวโจมตีอีกฝ่าย
จนสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ระเบิดขึ้นใน พ.ศ. 2457 (ค.ศ.1914) ประเทศคู่สงครามมีฝ่ายพันธมิตร 23 ประเทศ ฝ่ายมหาอำนาจกลาง 4 ประเทศ ช่วงต้นเยอรมนีบุกฝรั่งเศสตามแผนของชลีฟเฟน จนอยู่ห่างจากปารีสเพียง 10 ไมล์แต่ฝรั่งเศสก็หยุดเยอรมันได้ที่แม่น้ำมาร์น หลังจากนั้นต่างฝ่ายต่างขุดสนามเพลาะยาวกว่า 600 ไมล์จากชายแดนสวิสเซอร์แลนด์ถึงทะเลเหนือเรียกว่า "สงครามสนามเพลาะ" ส่วนด้านตะวันออก จักรวรรดิรัสเซียพยายามเข้าตีเยอรมนีและออสเตรียแต่ก็พ่ายแพ้ ว่ากันว่ารัสเซียเป็นชาติที่สูญเสียมากที่สุด การรบอย่างนองเลือดยังดำเนินต่อไป การรบที่ซอมม์มีคนตายกว่า 1,300,000 ศพ การรบที่กัลลิโปลีฝ่ายพันธมิตรตาย 200,000 ศพ พ.ศ. 2460 (ค.ศ. 1917) สหรัฐอเมริการ่วมสงครามอยู่ฝ่ายพันธมิตร พ.ศ. 2461 (ค.ศ. 1918) เยอรมนีทำการบุกครั้งใหญ่ แต่ก็ถูกฝ่ายพันธมิตรโต้กลับจนเกือบถึงชายแดนเยอรมนี
เยอรมนีสูญเสียอย่างหนักสุดท้ายก็ยอมแพ้ สงครามมหาประลัยครั้งนี้จึงสิ้นสุดลง แต่หลังสงครามฝ่ายพันธมิตรร่างสนธิสัญญาแวร์ซาย จนชาวเยอรมันประกาศจะจับปืนสู้ต่อไป แต่ผู้นำเยอรมันตอนนั้นได้ร่วมมือกับพวกยิวที่ต้องการให้เยอรมนีล่มยอมแพ้ไปแล้ว เมื่อเยอรมนีฟื้นตัวได้ก็พยายามเรียกร้องสิ่งที่ตนเสียไปอย่างไม่เป็นธรรม อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ประกาศจะยึดโปแลนด์ที่เคยเป็นของเยอรมนีคืน สงครามโลกครั้งที่สอง ระเบิดขึ้น เยอรมนีเข้ายึดยุโรปภาคเหนือได้ในปีเดียว จนอิตาลีประกาศสนับสนุนฮิตเลอร์ แต่อังกฤษก็ยังสู้ต่อไป เยอรมนียึดอังกฤษไม่ได้จึงเปลี่ยนแผนไปบุกสหภาพโซเวียตก็ยังยึดไม่ได้อีก
เมื่อญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริการ่วมสงคราม สงครามโลกครั้งที่สองก็ขยายวงกว้างไปทั่วโลก พ.ศ. 2486 (ค.ศ. 1943) เยอรมนีแพ้ในแอฟริกา อิตาลีประกาศยอมแพ้ พ.ศ. 2487 (ค.ศ. 1944) ฝ่ายพันธมิตรร่วมมือกันบุกเยอรมนี ฮิตเลอร์ฆ่าตัวตาย เยอรมนียอมแพ้ จากนั้นญี่ปุ่นยอมแพ้ ในวันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2488 (ค.ศ. 1945) สงครามโลกครั้งที่สองจึงสิ้นสุดลง

ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 20 : สงครามเย็น (Cold War)

หลังสงครามโลกครั้งที่สอง สหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียตเกิดขัดแย้งกันเอง มีการแบ่งโลกออกเป็นสองค่ายคือค่ายเสรีประชาธิปไตยและคอมมิวนิสต์ สงครามเย็นแม้ จะเรียกว่าสงครามแต่ก็เป็นเพียงสงครามที่ไม่มีการรบ มีเพียงสงครามตัวแทนเช่นสงครามเกาหลี สงครามเวียดนาม ฯลฯ สงครามนี้ส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับการสะสมอาวุธร้ายแรง การใช้จิตวิทยาโจมตีอีกฝ่าย สงครามเย็นสิ้นสุดเมื่อสหภาพโซเวียตล่มสลายใน พ.ศ. 2534 (ค.ศ.1991)

สหภาพยุโรป

หลังสงครามโลกครั้งที่สอง ยุโรปอยู่ในสภาพที่บอบช้ำและเสียหายอย่างหนักในทุกด้าน จึงทำให้มีผู้นำทางการเมืองเกิดแนวความคิดที่จะสร้างอนาคตที่มีสันติภาพอย่างถาวร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การปรองดองกันระหว่างสองรัฐที่เคยได้ทำสงครามที่สร้างความหายนะแก่ทวีปทั้งทวีป คือ ฝรั่งเศส กับเยอรมนี ซึ่งบุคคลที่ได้เสนอแนวคิดนี้ คือ นาย Jean Monnet (ชาวฝรั่งเศส) และถูกนำมาขยายผลโดยนาย Robert Schuman (รัฐมนตรีต่างประเทศฝรั่งเศส) โดยวิธีการของการรวมตัวกันทางเศรษฐกิจกันระหว่างฝรั่งเศสกับเยอรมนีให้ใกล้ชิดกันจนกระทั่งทั้งสองประเทศจะไม่สามารถทำสงครามระหว่างกันได้ แต่ในขณะเดียวกันก็มีเป้าหมายในระยะยาวที่จะสร้างความเป็นเอกภาพระหว่างประชาชนชาวยุโรป เพื่อมิให้มีการแตกแยกและนำไปสู่การทำสงครามระหว่างกันในอนาคตด้วย
แนวคิดดังกล่าว ได้นำไปสู่การจัดตั้ง ”ประชาคมถ่านหินและเหล็กกล้าแห่งยุโรป (European Coal and Steel Community)” ในปี พ.ศ. 2494 (ค.ศ.1951) โดยสนธิสัญญากรุงปารีส ซึ่งแรกเริ่มมีประเทศสมาชิก 6 ประเทศ คือ ฝรั่งเศส เยอรมนี เบลเยียม เนเธอร์แลนด์ ลักเซมเบอร์ก และอิตาลี ทั้งนี้ เนื่องจากถ่านหินและเหล็กกล้าถือเป็นยุทธปัจจัย การจัดตั้งประชาคมเพื่อบริหารทรัพยากรดังกล่าวจึงเสมือนเป็นก้าวแรกที่จะทำให้สงครามระหว่างฝรั่งเศสกับเยอรมนีไม่สามารถเกิดขึ้นได้อีก หลังจากนั้น ได้มีการจัดตั้งประชาคมขึ้นอีก 2 ด้าน คือ ด้านปรมาณู (Euratom) ในปี พ.ศ. 2497 (ค.ศ.1954) และที่สำคัญ คือ ด้านเศรษฐกิจ (European Economic Community) ในปี พ.ศ. 2500 (ค.ศ.1957) โดยสันธิสัญญากรุงโรม
ทั้งสนธิสัญญากรุงปารีสและสนธิสัญญากรุงโรม ถือเป็นพื้นฐานสำคัญของสหภาพยุโรปที่ยังคงใช้จนถึงทุกวันนี้ เพราะเป็นการวางรากฐานในการจัดตั้งสถาบันบริหารกิจการของประชาคม คือ คณะกรรมาธิการยุโรป (European Commission) คณะมนตรี (Council) ศาลตุลาการยุโรป (European Court of Justice) และสภายุโรป (European Parliamentary Assembly ต่อมาเปลี่ยนมาเรียกว่า European Parliament) และยังวางรากฐานของการบริหารอธิปไตยร่วมกันระหว่างประเทศสมาชิกโดยผ่าน ”ประชาคม” อีกด้วย
ทั้งนี้ เป้าหมายที่สำคัญของการร่วมมือครั้งนี้ คือ การจัดตั้ง “ตลาดร่วม” ของประเทศสมาชิก กล่าวคือ ดำเนินการเพื่อให้การเคลื่อนย้ายสินค้าระหว่างประเทศสมาชิกเป็นไปโดยไร้อุปสรรคอย่างสิ้นเชิง ซึ่งนอกจากหมายถึงการยกเลิกด่านศุลกากรระหว่างกันแล้ว ยังหมายถึงการประสานกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการจำหน่ายสินค้าทั้งหมด อาทิ การรับรองมาตรฐานสินค้า ระบบการตรวจสอบสินค้าเข้าจากต่างประเทศ ฯลฯ ซึ่งเป้าหมายดังกล่าวได้เสร็จสิ้นภายหลังโครงการ “Single Market Act” เริ่มเมื่อปี พ.ศ. 2529 (ค.ศ.1986) และสำเร็จเมื่อปี พ.ศ. 2535 (ค.ศ.1992) พัฒนาขั้นต่อไปที่สำคัญ คือ การลงนามในสนธิสัญญาจัดตั้งสหภาพยุโรป (Treaty of European Union) ลงนามที่เมืองมาสตริคต์ในปี 1992 (จึงมักเรียกสั้นๆ ว่า Maastricht Treaty) ซึ่งถือเป็นจุดกำเนิดของ “สหภาพยุโรป”ที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน สาระสำคัญของการจัดตั้งสหภาพยุโรป คือ นอกจากคงไว้ซึ่งโครงสร้างความร่วมมือเดิมภายใต้ประชาคมทั้งสามที่มีอยู่เดิมแล้ว ยังขยายความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกไปอีกสองด้าน คือ (1) ความร่วมมือด้านการต่างประเทศและความมั่นคง กับ (2) ความร่วมมือด้านมหาดไทยและยุติธรรม อย่างไรก็ดี เนื่องจากทั้งสองด้านดังกล่าว เป็นเรื่องที่บางรัฐสมาชิกมีความกังวลเกี่ยวกับประเด็นด้านอธิปไตย จึงมิใช่ความร่วมมือในลักษณะ “ประชาคม” (หมายถึงการแบ่งอำนาจอธิปไตยมาบริหารร่วมกัน) แต่เป็นการร่วมมือและประสานนโยบายระหว่างรัฐบาล (Inter-Governmental Cooperation) “สนธิสัญญามาสตริคต์” ถูกแก้ไขและปรับปรุงเพิ่มเติมโดยสนธิสัญญาสำคัญอีกสองฉบับ คือ สนธิสัญญากรุงอัมสเตอร์ดัม (Treaty of Amsterdam) ปี พ.ศ. 2540 (ค.ศ.1997) และสนธิสัญญาเมืองนีซ (Treaty of Nice) ปี พ.ศ. 2544 (ค.ศ.2001) ซึ่งขยายขอบเขตสาขาความร่วมมือภายใต้นโยบายร่วมของสหภาพยุโรป (โดยเฉพาะในด้านมหาดไทยและยุติธรรม) พร้อมกับปรับปรุงสถาบันและแนวปฏิบัติเพื่อให้สามารถรองรับจำนวนรัฐสมาชิกที่เพิ่มขึ้นต่อไป
จากเดิมซึ่งมีสมาชิกเพียง 6 ประเทศ สหภาพยุโรป ได้รับรัฐสมาชิกเพิ่มขึ้นเรื่อยหลายครั้ง คือ ปีพ.ศ. 2516 (ค.ศ.1973) เดนมาร์ก ไอร์แลนด์ สหราชอาณาจักร ปี 1981 กรีซ ปี 1986 สเปนและโปรตุเกส ปี 1995 ออสเตรีย ฟินแลนด์ สวีเดน และล่าสุดปีพ.ศ. 2547 (ค.ศ.2004) ถือเป็นการขยายจำนวนสมาชิกครั้งใหญ่ที่สุดถึง 10 ประเทศ คือ ไซปรัส สาธารณรัฐเช็ค เอสโตเนีย ฮังการี ลัตเวีย ลิทัวเนีย มอลต้า โปแลนด์ สาธารณรัฐสโลวัก และสลีวีเนีย และเมื่อ ค.ศ.2007 รับเพิ่มอีก 2 ประเทศ รวมทั้งสิ้น 27 ประเทศ สมาชิกใหม่คือ บัลแกเรีย และโรมาเนีย

วันอังคารที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

La France en Thaïlande Ambassade de France à Bangkok

 

 สถานเอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำประเทศไทย


สถานเอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำประเทศไทย ตั้งอยู่ที่สถานที่ปัจจุบันตั้งแต่ พ.ศ. 2400 เมื่อนายมองตันยี กงศุลฝรั่งเศส ได้เช่าพื้นที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณนี้ ขนาดประมาณ 4 ไร่ ต่อมาในวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2418 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานที่ดินผืนนี้ให้แก่รัฐบาลฝรั่งเศส และได้รับเอกสารกรรมสิทธิ์ ในปี พ.ศ. 2468 อาคารสถานทูตก่อสร้างโดยช่างชาวอิตาเลียน เป็นอาคารยกพื้นสูงมาก มีระเบียงด้านหน้า สถาปัตยกรรมได้รับอิทธิพลจากสถาปัตยกรรมอิตาเลียน
การคมนาคมติดต่อกับสถานทูต เดิมใช้ทางแม่น้ำเจ้าพระยา โดยเฉพาะในเหตุการณ์วิกฤตการณ์ ร.ศ. 112 พ.ศ. 2436 กองทัพฝรั่งเศสใช้เรือรบเดินทางเข้ามาเทียบท่าถึงบริเวณสถานทูต ต่อมาเมื่อมีการตัดถนนเจริญกรุง จึงทำทางเข้าทางถนนอีกทางหนึ่ง
อาคารสถานทูตได้รับการซ่อมแซมระหว่างปี พ.ศ. 25022511 และได้รับรางวัลอาคารอนุรักษ์ดีเด่น จากสมาคมสถาปนิกสยาม เมื่อ พ.ศ. 2527