วันเสาร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กรุงเทพฯเมืองน่าเที่ยวอันดับ 1


กรุงเทพฯ ยังฮ็อต ได้อันดับ 3 เมืองน่าเที่ยวที่สุดในโลก 2012





บริษัท MasterCard ร่วมกับนิตยสาร Forbes เผยผลสำรวจเมืองน่าเที่ยวที่สุดของโลก โดยรวบรวมข้อมูลจากสายการบิน 87 แห่ง สหประชาชาติ คณะกรรมการการท่องเที่ยวแห่งชาติของประเทศต่างๆ และตัวแทนที่มีสาขาอยู่ทั่วโลก อันดับหนึ่งตกเป็นของกรุงลอนดอน อังกฤษ ตามมาด้วยที่สองกรุงปารีส ฝรั่งเศษ และอันดับสามเป็นกรุงเทพฯ เมืองฟ้าอมรของไทยนั่นเอง 



นายยูวา เฮดริก-หว่อง ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจของบริษัท มาสเตอร์การ์ด เวิลด์ไวด์ กล่าวว่า กรุงลอนดอน มีดัชนีชี้วัดที่สำคัญจากการจัดงานเฉลิมฉลองการครองราชย์ครบรอบ 60 ปีของสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 รวมถึงการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกที่ผ่านมา



เมื่อมาดูเฉพาะแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กรุงเทพฯ เป็นอันดับ 1 ตามมาด้วยสิงคโปร์ และฮ่องกง สำหรับสาเหตุที่กรุงเทพฯ ได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยว เป็นเพราะมีวัฒนธรรมที่เปิดกว้าง เป็นแหล่งจับจ่ายที่มีราคาสินค้าสมเหตุสมผล


ที่มา bangkokpost.com
ภาพประกอบบางส่วน framework.latimes.com
bangkok.com  

วันอังคารที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

"NICOLAUS COPERNICUS”


นิโคเลาส์ โคเปอร์นิคัส  

   


        “โลก... คือศูนย์กลางแห่งเอกภพ  คือคำกล่าวของปโตเลมี  นักดาราศาสตร์ชาวกรีก ซึ่งเป็นสิ่งที่เชื่อถือกันต่อมานานนับพันปี จนกระทั่ง นิโคลเลาส์  โคเปอร์ นิคัส  ออกมาประกาศแนวคิดใหม่ที่ปฏิวัติความเชื่อเดิมๆ ทั้งยังผลักไสโลกและมนุษย์เราออกจากศูนย์กลางของจักรวาลอีกด้วย

           วัีนที่ 19 กุมภาพันธ์ 2016 (ค.ศ.1473) วันเกิดของ “นิโคลาส โคเปอร์นิคัส NICOLAUS COPERNICUS” นายแพทย์ นักคณิตศาสตร์ นักดาราศาสตร์ เป็นชาวโปแลนด์ เกิดที่เมืองตุรัน ประเทศโปแลนด์ ในสมัยของเขานั้นนักดาราศาสตร์ทั้งหลายเชื่อตามทฤษฎีที่ “ปโตเลมี” ตั้งไว้ราว 1,400 ปีมาแล้วว่า โลกเป็นศูนย์กลางของจักรวาลและไม่เคลื่อนที่ แต่ “โคเปอร์นิคัส COPERNICUS” เป็นบุคคลแรกที่กล่าวถึงทฤษฎีเกี่ยวกับการหมุนของระบบสุริยะว่า ดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของสุริยะจักรวาล มีโลกและดาวเคราะห์ดวงอื่นๆหมุนอยู่โดยรอบ จึงถือกันว่าเขาเป็นบิดาแห่งดาราศาสตร์สมัยใหม่ “
          โคเปอร์นิคัส COPERNICUS” ศึกษาวิชาแพทย์ รวมไปถึงคณิตศาสตร์และดาราศาสตร์ที่คราเครา หลังสำเร็จการศึกษาเขาได้เดินทางไปยังอิตาลี ที่นั่นเขาศึกษาเกี่ยวกับดาวฤกษ์และดาวเคราะห์ และทดลองเรื่องวิทยาศาสตร์แนวใหม่ว่าด้วยการมองเห็น เขาสร้างกล้องส่องทางไกลง่ายๆขึ้นเป็นชิ้นแรก แม้จะไม่ได้ใช้มันในการส่องท้องฟ้าก็ตาม ในอีกเกือบหนึ่งศตวรรษถัดมา “กาลิเลโอ GALILEO” เป็นผู้ที่ใช้กล้องโทรทัศน์ส่องดูท้องฟ้าเป็นคนแรก 

         โคเปอร์นิคัสเป็นนักดาราศาสตร์ที่ไม่เคยใช้กล้องดูดาวเลย เพราะว่าสมัยนั้นยังไม่มีการคิดค้นขึ้นใช้ เขาจึงสร้างเครื่องมือสำหรับใช้ศึกษาดวงอาทิตย์และดวงดาวทั้งหลายขึ้นเอง จากนั้นก็ใช้อุปกรณ์นี้เฝ้าสังเกตการเคลื่อนที่ของเทหวัตถุบนฟากฟ้า กลางวันสังเกตดวงอาทิตย์ กลางคืนสังเกตดวงดาว พร้อมกับจดบันทึกไว้อย่างละเอียด โคเปอร์นิคัสเฝ้าสังเกต ศึกษาค้นคว้า และทดลอง ด้วยความอุตสาหะวิริยะ อย่างอดทนอยู่นานถึงสามสิบปี จึงได้รวบรวมบันทึกการศึกษาค้นคว้าเขียนขึ้นเป็นหนังสือชื่อ "การปฏิวัติวงโคจรของดวงดาวในจักรวาล" ซึ่งกล่าวถึงทฤษฎีใหม่เกี่ยวกับระบบสุริยะจักรวาลที่เข้าค้นพบว่า "ดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของจักรวาลโดยมีโลกและดาวเคราะห์ทั้งหลายเป็นบริวารโคจรรอบดวงอาทิตย์" นับว่าขัดแย้งกับความเชื่อในสมัยนั้นว่า "โลกเป็นศูนย์กลางของจักร วาล" และเป็นความเชื่อทางศาสนาด้วย และสมัยนั้นประเทศในยุโรปอยู่ใต้อำนาจอันแข็งแกร่งของ ศาสนาจักร เพราะฉะนั้นความเชื่อและความคิดเห็นใดๆ ที่ขัดแย้งกับความเชื่อทางศาสนาจึงเป็นความผิดอย่างร้ายแรงด้วยเหตุนี้ โคเปอร์นิคัสนี้จึงไม่กล้านำผลงานออกเผยแพร่ จนกระทั่งเพื่อนสนิทคนหนึ่งจัดการนำไปพิมพ์ได้สำเร็จก่อนหน้าที่เขาจะเสียชีวิตเพียงไม่กี่ชั่วโมง ถึงกระนั้น เมื่อหนังสือของเขาออกเผยแพร่ ทางศาสนาจักรได้ประกาศห้ามผู้คนเชื่อตามความเห็นในหนังสือของเขามิฉะนั้นจะถูกลงโทษอย่างหนัก 



นิโคลาส โคเปอร์นิคัส ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม ค.ศ. 1543 อายุได้ 70 ปี เขาได้รับความยกย่องว่าเป็นผู้ค้น พบตำแหน่งของโลกที่ถูกต้องแท้จริง นอกจากนี้ยังได้ชื่อว่าเป็นนักวิทยาศาสตร์ผู้มีความวิริยะอุตสาหะสูงยิ่ง สมกับเป็นบุคคลสำคัญของโลกผู้หนึ่ง



  มีการตีพิมพ์ผลงานของเขาลงในหนังสือ “ การปฏิวัติทางโคจรแห่งดาวบนฟากฟ้า” (De Revolutionibus Orbrium Codestium) มีชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า On the Revolutions of the Heavenly Bodies หรือที่รู้จักกันดีในชื่อว่า Revolutions มีทั้งหมด 6 เล่ม โดยสรุปเป็นทฤษฎี 3 ข้อคือ

1.ดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของระบบสุริยจักรวาล โดยโลกและดาวเคราะห์อื่นๆต้องหมุนรอบดวงอาทิตย์ใช้เวลา 365 วัน หรือ 1 ปี และทำให้เกิดฤดูกาลขึ้น

2.โลกมีสัณฐานกลมไม่ใช่แบนอย่างที่เข้าใจ โดยโลกใช้เวลาหมุนรอบตัวเอง 1 วัน หรือ 24 ชม. และทำให้เกิดกลางวัน และกลางคืน

3.ดาวเคราะห์ต่างๆ ที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ เป็นไปในลักษณะเป็นวงกลม แต่นักดาราศาสตร์รุ่นหลังบอกว่าเป็นวงรี

หนังสือ “De Revolutionibus Orbium Coelestium” ถือว่าเป็นรากฐานทางดาราศาสตร์ที่สำคัญ ซึ่งต่อมากาลิเลโอก็ ได้ยืนยันว่าความคิดของนิโคลัส โคเปอร์นิคัสว่าเป็นเรื่องจริง และผลงานของเขา ก็ถือว่าเป็นการปฏิวัติความเชื่อใหม่ที่ถูกต้อง ให้กับนักดาราศาสตร์รุ่นต่อมาได้นำแนวทางของเขามาใช้ ในการค้นหาความลับทางดาราศาสตร์ต่อไป
แหล่งข้อมูล : www.thaigoodview.com
www.lib.hcu.ac.th

วันเสาร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

Jean-Marc Ayrault แห่งฝรั่งเศสเยือนไทย

“นายกฯ ฌอง-มาร์ก เอโรต์” แห่งฝรั่งเศส เยือนไทยฐานะแขกรัฐบาล  เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 พร้อมหารือข้อราชการ ต่อยอดความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ ย้ำความสัมพันธ์ของสองประเทศ






  ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันที่ (4 ก.พ.) และ 5 ก.พ. นายฌอง-มาร์ก เอโรต์ นายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐฝรั่งเศส เดินทางมาเยือนไทยอย่างเป็นทางการในฐานะแขกของรัฐบาล ตามคำเชิญของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ถือเป็นการเยือนไทยครั้งแรกในรอบ 23 ปี ซึ่งก่อนหน้านี้ประมาณ 6 เดือน น.ส.ยิ่งลักษณ์เคยเดินทางไปเยือนฝรั่งเศสอย่างเป็นทางการมาแล้ว และการมาเยือนไทยของนายกฯ ฝรั่งเศสตามคำเชิญของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ครั้งนี้จะเป็นการตอกย้ำความสัมพันธ์ของสองประเทศที่ได้พพัฒนาสู่ความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ ซึ่งในตอนนี้นายกฯ ฝรั่งเศสให้ความสำคัญกับการเดินทางเยือนกลุ่มประเทศสมาชิกอาซียน โดยก่อนหน้านี้ประมาณปลายปี 2555 นายกฯ ฝรั่งเศสได้เดินทางเยือนประเทศสิงคโปร์ และฟิลิปปินส์มาแล้ว

       
       ทั้งนี้ วันอังคารที่ 5 กุมภาพันธ์ เวลาประมาณ 17.30 น. นายกฯ ฝรั่งเศสและคณะจะเดินทางเข้าทำเนียบรัฐบาล ร่วมพิธีการต้อนรับอย่างเป็นทางการ และหารือข้อราชการกับนายกรัฐมนตรีพร้อมคณะ และจะเป็นการต่อยอดการหารือหลังจากนายกรัฐมนตรีเคยไปเยือนฝรั่งเศสก่อนหน้านี้ ซึ่งฝรั่งเศสให้ความสำคัญต่อเรื่องการขยายปริมาณการค้า การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของไทย ความร่วมมือด้านการศึกษา ตลอดจนประเด็นระดับภูมิภาคและพหุพาคี
       
       พร้อมกันนี้หลังการหารือจะมีการลงนามความตกลง 5 ฉบับ โดย 4 ฉบับที่น่าสนใจ คือ 1. ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านการป้องกันประเทศ โดยกระทรวงกลาโหม 2. หนังสือแสดงเจตจำนงเพื่อความร่วมมือด้านการศึกษา โดยกระทรวงศึกษาธิการ 3. บันทึกข้อตกลงโครงการความร่วมมือในการผลิตวัคซีนรวมป้องกันโรคคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน-ตับอักเสบ โดยกระทรวงสาธารณสุข 4. ความตกลงระหว่างมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกับสถาบัน IUT เรื่องการพัฒนาหลักสูตร
       
       สำหรับฝรั่งเศสถือเป็น 1 ใน 5 ของประเทศมหาอำนาจทางการเมืองและการทหารของโลก เป็นแหล่งความรู้ที่สำคัญทั้งในด้านวิทยากร เทคโนโลยี วัฒนธรรมและการศึกษา เป็นสมาชิกสหภาพยุโรปที่มีบทบาทในการกำหนดทิศทางและนโยบายของสหภาพยุโรป และในปัจจุบันความสัมพันธ์ระหว่างไทยและฝรั่งเศสมีการยกระดับเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ระหว่างกันแล้ว
       
       ขณะเดียวกัน ทุกวันนี้ฝรั่งเศสเข้ามาลงทุนในไทยสูงเป็นอันดับ 8 ของการลงทุนจากภูมิภาคยุโรป เช่นเดียวกับบริษัทของไทยได้เข้าไปลงทุนในฝรั่งเศสในสาขาต่างๆ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมอาหารทะเล อุตสาหกรรมพลาสติก
       
       อย่างไรก็ตาม การเดินทางเยือนไทยครั้งนี้ ทางนายกฯ ฝรั่งเศสได้เดินทางไปเยือนกัมพูชาด้วย เพื่อเข้าร่วมพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ พรวรราชบิดาแห่งอาณาจักรกัมพูชา แต่ทางนายกฯ ฝรั่งเศสไม่ต้องการให้ถูกฝ่ายไทยมองว่าฝรั่งเศสเข้าข้างกัมพูชาในกรณีประสาทพระวิหาร ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อประโยชน์และความรู้สึกของประเทศไทย